วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 6 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 23 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2
        
         สัปดาห์นี้สอนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)
           เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด  หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดในการปรับปรุงแต่งระดับของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
1.ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง
  • เสียงบางส่วนของคำที่ขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"
  • ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" "จิน" กวาด ฟาด
  • เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
  • เสียงเพี้ยนหรือเปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"
2.ความบกพร่องของจังหวะและข้นตอนของเสียงพูด
  • พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
  • การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
  • อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
  • จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
  • เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย
3.ความบกพร่องของเสียงพูด
  • ความบกพร่องของระดับเสียง
  • เสียงดังหรือค่อยเกินไป
  • คุณภาพของเสียงไม่ดี
ความบกพร่องทางภาษา
        หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูดและไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
1.การพันาการทางภาษาช้ากว่าวัย
  • มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
  • มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
  • ไม่สามารถสร้างประโยคได้
  • มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ อารมณ์ สมองผิดปกติ
  • ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วนๆ
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
  • อ่านไม่ออก (alexia)
  • เขียนไม่ได้ (agraphia)
  • สะกดคำไม่ได้
  • ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
  • จำคำหรือประโยคไม่ได้
  • ไม่เข้าใจคำสั่ง
  • พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
Gerstmann's syndrome
ไม่รู้ชื่อนิ้ว
ไม่รู้ซ้ายขวา
คำนวณไม่ได้
เขียนไม่ได้
อ่านไม่ออก
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
  • ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆ และอ่อนแรง
  • ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
  • ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
  • หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
  • ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
  • หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
  • มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
  • ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย
5.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairment)
  • เด็กมีอวัยวะไม่สมส่วน
  • อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
  • เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
  • มีปัญหาทางระบบประสาท
  • มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
โรคลมชัก (Epilepsy)
  • เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
  • มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
  • อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10 วินาที
  • มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก
  • เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
  • เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
  • เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5นาที จากนั้นจะหายและนอนหลับไปชั่วครู่
3.อาการชักแบบ Partial Complex
  • มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที
  • เหม่อนิ่ง
  • เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้และตอบสนองต่อคำพูด
  • หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
  • เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่คัวเองไม่รู้ เช่น  ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อ แต่ไม่มีอาการชัก
5.ลมบ้าหมู
  • เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น

การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
  • จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
  • ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
  • หาหมอนหรือสิ่งนุ่ม ๆ รองศีรษะ
  • ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารอกจากปก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
  • จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
  • ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
  • ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ
ซี.พี (Cerebral Palsy)

  • เป็นการอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นแผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
  • การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
    • spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
    • spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
    • spastic paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
    • spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (athetoid , ataxia)
  • athetoid อาการขยุกขยิกช้าๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของเด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
  • ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3.กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
    
            กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
  • เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว
  • เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
  • จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
          โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด

  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ
  • กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
โปลิโอ (Poliomyelitis)


  • มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
  • ยืนไม่ได้หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคเบาหวาน
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เลือดไหลไม่หยุด

แขนขาด้สนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)



ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
  • ท่าเดินคล้ายกรรไกร
  • เดินขากะดผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
  • ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
  • มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
  • หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
  • หกล้มง่ายๆ
  • หิวและหระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ

Mind Map
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ





การประเมินผล
  • ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
  • เพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ไม่คุยกันเสียงดังขณะเรียน และแดงความคิดเห็นร่วมกัน
  • อาจารย์  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์ยกตัวอย่างประกอบ และมี VDO ตัวอย่างต่างๆให้ดู ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 5 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 16 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง  มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า "เด็กปัญญาเลิศ"

เด็กปัญญาเลิศ ( Gifted Child )
  • เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา
  • มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
  • พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
  • เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
  • อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
  • มีเหตุผลในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก
  • จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
  • มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
  • มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
  • เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต
  • มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน
  • ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน
  • เด็กฉลาดตอบคำถาม                    
  • สนใจเรื่องที่ครูสอน
  • ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน
  • ความจำดี
  • เรียนรู้ง่ายและเร็ว
  • เป็นผู้ฟังที่ดี
  • พอใจในผลงานของตน
Gifted
  • ตั้งคำถาม
  • เรียนรู้สิ่งที่สนใจ
  • ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
  • อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน
  • เบื่อง่าย
  • ชอบเล่า
  • ติเตียนผลงานของตน
2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
    1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
3.เด็กที่มีบกพร่องทางการเห็น
4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5.เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
6.เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
7.เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
8.เด็กออทิสติก
9.เด็กพิการซ้อน

1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
           หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน  มี 2 กลุ่ม เด็กเรียนช้าและเด็กปัญญาอ่อน

          เด็กเรียนช้า
- สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
- เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
- ขาดทักษะในการเรียนรู้
- มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
- มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
        
          สาเหตุของการเรียนช้า
  • ภายนอก
  • ภายใน
1. ภายนอก
  • เศรษฐกิจของครอบครัว
  • การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
  • สภาวะทางด้านอารมณ์ขิงคนในครอบครัว
  • การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
  • วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
2.ภายใน
  • พัฒนาการช้า
  • การเจ็บป่วย
          
          เด็กปัญญาอ่อน
- ระดับสติปัญญาต่ำ
- พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
- มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
- อาการแสดงก่อนอายุ 18
          พฤติกรรมการปรับตน
  • การสื่อความหมาย
  • การดูแลตนเอง
  • การดำเนินชีวิตภายในบ้าน
  • การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม
  • การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน
  • การควบคุมตนเอง
  • การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
  • การใช้เวลาว่าง
  • การทำงาน
  • การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น
            เด็กปัญญาอ่อน
แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม

1.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
- ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆได้เลย
- ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
- ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
- กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R. (Custodial Mental Retardation)
3.เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
- พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้
- สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่ายๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้
- เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R. (Trainable Mentally Retarded)
4.เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
- เรียนในระดับประถมศึกษาได้
- สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้
- เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retardrd)

ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome
          สาเหตุ
  • ความผิดปกคิของโครโมโซมคู่ที่ 21
  • ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21)
          อาการ
  • ศีรษะเล็กและแบน
  • หน้าแบน ดั้งจมูกแบน
  • ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
  • ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
  • เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต
  • ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
  • มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น
  • เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ
  • ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง
  • มีความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย
  • บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด
  • อารมณ์ดีเลี้บงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร
  • อวัยวะเพศมักเจรริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง
การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
  • การเจาะเลือดของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์
  • อัลตราซาวด์
  • การตัดชิ้นเนื้อรก
  • การเจาะน้ำคร่ำ
2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน ( Children with Hearing Impaired )
             หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กฟูตึง และ เด็กหูหนวก

        เด็กหูตึง
        หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
1.เด็กหูตึงระดับน้อย  ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
         เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบาๆ เช่น  เสียงกระซิบ หรือเสียงจากที่ไกล ๆ
2.เด็กหูตึงระดับปานกลาง  ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
- เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติ ในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด
- จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้
- มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียงเบา หรือเสียงผิดปกติ
3.เด็กหูตึงระดับมาก  ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB
- เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด
- เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
- มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน
- มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
- พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด
4.เด็กหูตึงระดับรุนแรง  ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB
- เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก
- ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต
- การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง
- เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง
- เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
         เด็กหูหนวก
- เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
- เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
- ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดไ้ด้
- ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป

ลักษณะที่บกพร่องทางการได้ยิน
  • ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง
  • ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
  • พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
  • พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงพูด
  • พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
  • เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  • รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน แลการเคลื่อนไหวรอบตัว
  • มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น  ( Children with Visual Impairments )
  • เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
  • มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
  • สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  • มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
  • จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท
เด็กตาบอด
  • เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห้นบ้าง
  • ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการรับรู้
  • มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว้าง 5 องศา
เด็กตาบอดไม่สนิท
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
  • สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่าเด็กปกติ
  • เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20/60, 6/60, 20/200 หรือน้อกว่านั้น
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิด 30 องศา
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการมองเห็น
  • เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
  • มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
  • มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
  • ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
  • เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
  • ตาหรือมือไม่สัมพนธ์กัน
  • มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต

Mind  Map
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ



การประเมินผล
  • ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังและจดบันทึกตามขณะครูสอน
  • เพื่อน  : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังขณะครูสอน มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
  • อาจารย์  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการยกตัวอย่างการสอนจากประสบการณ์ที่พบเจอ และสอนสนุก

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 4 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 9 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2


            อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย และให้นักศึกษาทำแบบประเมินการนำเสนองานของเพื่อน ๆ แต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1   เด็กซีพี ( CP : Cerebral Palsy )
                ข้อมูลเพิ่มเติม :: Cick   Cick


VDO  กายภาพเด็กพิการทางสมอง


กลุ่มที่ 2   เด็กแอลดี ( LD : Leaming Disability )
                 ข้อมูลเพิ่มเติม  :: Cick  Cick 


VDO  Learning disability : LD


กลุ่มที่ 3   เด็กดาวน์ซินโดรม ( Down syndrome )
                ข้อมูลเพิ่มเติม :: Cick




กลุ่มที่ 4    เด็กสมาธิสั้น
                 ข้อมูลเพิ่มเติม  :: Cick  Cick



VDO  ความรู้เกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น


กลุ่มที่ 5    เด็กปัญญาเลิศ
                 ข้อมูลเพิ่มเติม  ::  Cick



กลุ่มที่ 6    เด็กออทิสติก ( Autistic )
                  ข้อมูลเพิ่มเติม   ::  Cick   Cick   Cick



กลุ่มที่ 7   เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์
                 ข้อมูลเพิ่มเติม  ::  Cick


การประเมินผล
  • ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังขณะที่เพื่อนนำเสนอ
  • เพื่อน  มีมาเรียนสายบ้างเล็กน้อย แต่งกายเรียบร้อย  เพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำเสนอได้ดีมาก มีการแสดงละครตัวอย่างประกอบ ทำให้น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อและสนุกสนาน
  • อาจารย์  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการสรุปเสริมการนำเสนอทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 3 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 2 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

        สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม นิทรรศการ " Thinking Faculty " โครงการ " ศึกษาศาสตร์วิชาการ " ณ อาคารพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
             ภายในงานมีการจัดบูทต่างๆ ของแต่ละเอก การแสดงจากนักศึกษา มีเกมให้ร่วมเล่นและตอบคำถาม ซึ่งมีทั้งหมด 6 บูท ดังนี้

  • นิทรรศการการคิดวิจารณญาณ
  • นิทรรศการการคิดเป็นระบบ
  • นิทรรศการการคิดวิเคราะห์
  • นิทรรศการการคิดสังเคราะห์
  • นิทรรศการการคิดสร้างสรรค์




สัปดาห์ที่ 2 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 26 สิงหาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2


สัปดาห์นี้เรียน หัวข้อเรื่อง " เด็กที่มีความต้องการพิเศษ "

ข้อมูลเพิ่มเติม ::  Cick



การประเมินผล
  • ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังและจดบันทึกตาม
  • เพื่อน  : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน ไม่ค่อยคุยกันขณะอาจารย์สอน
  • อาจารย์  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนโดยการยกตัวอย่างจากเรื่องที่เคยพบเจอ ทำให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 1 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 19 สิงหาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

           วันนี้เป็นสัปดาห์แรกของการเรียนการสอน อาจารย์แจก Course Syllabus พร้อมอธิบายรายวิชาเพื่อให้ทราบถึงการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์ เกณฑ์การให้คะแนน ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนจากการศึกษาค้นคว้ามาล่วงหน้าและพูดถึงการทำ Blogger รวมถึงข้อตกลงต่างๆ ภายในชั้นเรียน
             กิจกรรม :: อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 6-7 คน ร่วมกันระดมความคิดทำ mind mapping ในหัวข้อเรื่อง " เด็กพิเศษ " อธิบายความหมาย ลักษณะ พฤติกรรมตามความเข้าใจ โดยเขียนจากประสบการณ์ที่พบเจอ  เพื่อดูว่านักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด พร้อมออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

Mind Mapping ของกลุ่มดิฉัน


การประเมินผล
  • ตนเอง  : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
  • เพื่อน  : แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกันขณะที่เพื่อนๆนำเสนอ  เพื่อนๆ แต่ละกลุ่มนำเสนอได้ดี ทำให้ได้รับความรู้ที่หลากหลาย
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการสรุปเสริมการนำเสนอทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น