วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 16 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 2 ธันวาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 16 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

       วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ อาจารย์ได้ชี้แจงเรื่องต่างๆ ให้นักศึกษาทราบ ดังนี้
1. เรื่องใครที่สอบกลางภาคไม่ผ่านให้ไปติดต่อกับอาจารย์
2. เรื่องการกำหนดส่งบล็อก
3. เตือนเรื่องวันที่สอบปลายภาคให้นักศึกตรวจสอบดูวันสอบ เวลา ห้องให้ละเอียด

          จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาเขียนความรู้สึกของตนเองตามหัวข้อที่กำหนด

  • ความรู้สึกหลังจากเรียนรายวิชานี้
  • สิ่งที่ประทับใจที่สุดในการเรียนรายวิชานี้
  • สิ่งที่ชอบและอยากให้อาจารย์คงไว้
  • สิ่งที่ไม่ชอบและอยากให้อาจารย์ปรับปรุง              
      
           
            หนูได้เรียนกับอาจารย์เบียร์เป็นครั้งที่ 2แล้วรู้สึกประทับใจมากค่ะ ชอบเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์ ไม่ว่าจะเป็นการสอนจากประสบการณ์ที่อาจารย์พบเจอทำให้เข้าใจในเรื่องที่เรียนได้ง่าขึ้นและสนุกสนานทุกครั้งที่เรียน  ขอบคุณอาจารย์เบียร์ที่คอยให้คำปรึกษาพวกหนูในเรื่องที่กังวนหรือไม่สบายใจ อาจารย์ก็จะคอยให้คำแนะนำเสมอ อาจารย์ไม่ได้ให้แค่ความรู้แต่ยังให้ความรักความเอาใจใส่กับนักศึกษาด้วย  ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ..





วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 15 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

         วันนี้ได้เรียนรู้ เรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ในหัวข้อ เด็กสมาธิสั้น ADHD  (อยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ หุนหันพลันแล่น)





         อาจารย์เปิด โทรทัศน์ครู เรื่อง " ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ " ให้นักศึกษาดูเพื่อนำไปสรุปในการทำกิจกรรม



         จากนั้น  อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6คน ให้เขียน Mind map ในหัวข้องเรื่อง ศูนย์ EI 


ผลงานของกลุ่มดิฉัน



  ( Early Intervention : EI )
ความรู้เพิ่มเติม :  Cick





การนำไปประยุกต์ใช้

      นำความรู้เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษและจากการดูโทรทัศน์ครู ไปปรับใช้กับเด็กในการจัดกิจกรรมและการเลือกใช้สื่ออุปกรณ์ในการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเต็มศักยภาพ

การประเมินผล
  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังขณะอาจารย์สอนอย่างตั้งใจเพราะเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ เราสามารถนำไปปรับใช้ในการสอนในอนาคตได้เมื่อพบเจอกับเด็กพิเศษ เราจะได้รู้วิธีการปฎิบัติในการจัดกิจกรรมหรือการดูแลเอาใส่อย่างเหมาะสม
  • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย วันนี้เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนและจดบันทึกตามขณะอาจารย์สอนและดูวิดิโอ เพื่อนๆทุกคนสนุกสนานในการเรียนวันนี้ สังเกตได้จากเสียงหัวเราะและยิ้มแย้มแจ่มใสกันทุกคน
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ชอบการสอนที่อาจารย์เล่าจากประสบการณ์ที่เคยพบเจอและการแสดงบทบาทสมมุติให้เห็นภาพและเข้าใจในเรื่องที่สอนมากยิ่งขึ้น และVDO ที่นำมาให้ดูเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาเป็นอย่างมากเพราะสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนต่อไปได้

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 14 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 14 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2


                วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีการจัดกิจกรรม " โครงการครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย " ณ ลานอเนกประสงค์




การแสดงชุด นาฎศิลป์ประยุกต์




การแสดงชุด ระบำดอกบัว



การแสดงชุด เซิ้งตังหวาย



การแสดงชุด รำพัดเกาหลี



การแสดงชุด ระบำเงือก




การแสดงชุด ระบำสี่ภาค




การแสดงชุด จินตลีลา



การแสดงนิทาน



การแสดงชุด รำขวัญข้าว




การนำไปประยุกต์ใช้

            สามารถนำการแสดงแต่ละชุดไปปรับใช้กับเด็กได้ เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็กรู้จักอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรม และการนำนาฎศิลป์ไปใช้กับเด็กควรคำนึงถึงความยากง่ายของเพลงและท่ารำ ท่ารำควรสอดคล้องกับเนื้อหาของเพลง
การประเมินผล
  • ตนเอง  :  ให้ความร่วมมือในการจัดโครงการโดยการแสดงชุดนาฎศิลปฺประยุกต์อย่างเต็มที่
  • เพื่อน     พิธีกร พูดจาชัดเจน ใช้น้ำเสียงน่าฟังและยิ้มแย้มแจ่มใส  การแสดงแต่ละชุดมีความสวยงาม เพื่อนๆชั้นปี3 ทุกคน ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกันในการจัดโครงการอย่างเต็มที่ ทำให้งานในวันนี้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี 

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 13 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

          อาจารย์สอนในหัวข้อเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ



Down's  Syndrome



Autistic






การนำไปประยุกต์ใช้

      นำความรู้เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษนำไปส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเต็มศักยภาพ สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้ นำความรู้ต่างๆไปให้กับผู้ปกครองหรือคนที่อยู่ใกล้ชิดเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการและปรับพฤติกรรมเด็กให้ดียิ่งขึ้น

การประเมินผล
  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังขณะอาจารย์สอนเพราะอาจารย์สอนสนุกไม่น่าเบื่อ
  • เพื่อน   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย วันนี้ก่อนเริ่มเรียนเพื่อนๆอาจจะยังไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียนเพราะยังมีปัญหที่ต้องคิดต้องแก้ไข จึงอาจจะไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียนเต็มที่นัก แต่พออาจารย์บอกให้ปล่อยวางไปก่อน เพื่อนๆก็มีความพร้อมที่จะเรียนมากขึ้น 
  • อาจารย์  : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ชอบการสอนที่อาจารย์เล่าจากประสบการณ์ที่เคยพบเจอและการแสดงบทบาทสมมุติให้เห็นภาพและเข้าใจในเรื่องที่สอนมากยิ่งขึ้น และชอบที่อาจารย์มีVDOมาเปิดให้ดูและท้ายชั่วโมงอาจารย์นำภาพมาให้ดูว่าอยากจะเลือกเรียนกับใคร เป็นการเรียกเสียงหัวเราะได้ทั้งห้องเรียน การเรียนการสอนวันนี้สนุกสนาน

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 12 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

            วันนี้อาจารย์บอกคะแนนสอบกลางภาค ข้อสอบ 60ข้อ คะแนนที่ได้ออกมาอยู่ในระดับดี ถือว่าเป็นคะแนนที่พอใจมาก ตอนแรกคิดว่าจะไม่ผ่านซะแล้ว เพราะหลังจากที่สอบเสร็จได้พูดคุยกับเพื่อนเรื่องคำตอบว่าใครตอบข้อไหนกันบ้าง เท่าที่เพื่อนพูดกันผิดหลายข้อเลย มีที่ตรงกับที่เพื่อนพูดไม่กี่ข้อ หลังจากประกาศคะแนนครบทุกคนแล้ว อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบแต่ข้อและอธิบายข้อสอบไปพร้อมๆ เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบว่าข้อไหนที่เราทำถูก ข้อไหน
ที่ทำผิดบ้างและจะได้รู้ว่าคำตอบไหนเป็นคำตอบที่ถูกต้อง


การนำไปประยุกต์ใช้

            ทบทวนความรู้ที่ได้จากการทำข้อสอบและคำแนะนำจากอาจารย์เรื่องการทำข้อสอบไปปรับปรุงตัวเองในการทำข้อสอบครั้งต่อไป ควรอ่านโจทย์ให้ดีๆ ไม่ควรรีบเกินไปเพราะอาจทำให้เราอ่านพลาดหรือแปลความหมายผิดได้ เมื่อทำเสร็จแล้วก็ควรตรวจเช็คดูดีๆอีกรอบก่อนส่งอาจารย์
            

การประเมินผล
  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังขณะอาจารย์เฉลยข้อสอบ การสอบมีการเตรียมความพร้อมมาพอสมควร ก่อนสอบอาจารย์บอกว่ามีหลายคนตอบผิดตั้งแต่ข้อแรกและเราก็เป็นหนึ่งในนั้น - - เพราะอ่านโจทย์รีบเกิน ไม่คิดให้ดีๆก่อนกาข้อสอบ มีข้อสอบหลายข้อที่ลังเลในข้อแรกๆ บางข้อนั่งคิดแล้วคิดอีกเพราะลืมว่าภาษาอังกฤษของคำๆนั้นคืออะไร ตอนอาจารย์เฉลยข้อสอบก็มีข้อที่ตอนแรกเลือกถูกแล้วแต่ลังเลไปกาอีกข้อ บางข้ออ่านโจทย์ไม่ดี รู้สึกเสียดายมาก
  • เพื่อน   ตั้งใจฟังขณะอาจารย์เฉลยข้อสอบ สังเกตได้จากตอนที่อาจารย์จะเริ่มประกาศคะแนนสอบ เพื่อนๆเงียบกันทุกคน ต่างคนต่างลุ้นคะแนนของตนเอง ภาพรวมคะแนนสอบของเพื่อนๆ อยู่ในระดับดีกันทุกคน
  • อาจารย์  :  วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบได้สนุก ละเอียดและชัดเจน ทำให้เข้าใจมากขึ้น และนักศึกษาได้ทบทวนความรู้ไปในตัวสามารถจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น และทุกครั้งที่เข้าสอนอาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอด ทำให้บรรยากาศในการเรียนน่าเรียน



วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 11 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 28 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค


วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 10 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 21 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2



สัปดาห์นี้เรียนเรื่องประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 2 หัวข้อสุดท้าย คือ

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
( Children with Behavioral and Emotional Disorders )

ข้อมูลเพิ่มเติม Cick  Cick  Cick



เด็กพิการซ้อน 
( Children with Multiple Handicaps )

ข้อมูลเพิ่มเติม  Cick



การนำไปประยุกต์ใช้

             สามารถนำความรู้เรื่องเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ และเด็กพิการซ้อน ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนเมื่อพบเจอเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จัดกิจกรรมหรือการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก เข้าใจความต้องการและดูแลเอาใจใส่ เพื่อส่งเสรืมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดียิ่งๆขึ้นไป

การประเมินผล
  • ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟัง ไม่คุยขณะอาจารย์สอน
  • เพื่อน   แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟัง และสนุกสนานในเนื้อหาที่อาจารย์สอน
  • วิทยากร  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย การสอนโดยการเล่าจากบทบาทสมมุติหรือประสบการณ์ตรง ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่กว้างขวางขึ้น และมีVDO ประกอบการสอนที่ทำให้เห็นภาพยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 9 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 14 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2
                

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 
( Children with Learning Disabilities )

ข้อมูลเพิ่มเติม Cick  Cick 



เด็กออทิสติก ( Autistic )
ข้อมูลเพิ่มเติม Cick Cick Cick




การนำไปประยุกต์ใช้

          เมื่อทราบถึงสาเหตุ อาการและลักษณะของเด็กกลุ่มที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และกลุ่มเด็กออทิตติกแล้วนั้น เราควรจัดวิธีการส่งเสริมเด็กในด้านของกิจกรรมหรือการเรียนการสอนให้ถูกวิธีและดูแลเอาใจใส่เด็กเป็นพิเศษเพื่อทำให้เด็กมีพัฒนาการทางการเรียนรู้ที่ดียิ้งขึ้น


การประเมินผล
  • ตนเอง   แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟัง ไม่คุยขณะอาจารย์สอน
  • เพื่อน   แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟัง และสนุกสนานในเนื้อหาที่อาจารย์สอน
  • วิทยากร  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย การสอนบรรยายโดยการเล่าจากบทบาทสมมุติหรือประสบการณ์ตรง ทำใหนักศึกษาได้รับความรู้ที่กว้างขวางขึ้น และมีVDO ประกอบการสอนที่ทำให้เห็นภาพจริงยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 8 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 7 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 8 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

             สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


สัปดาห์ที่ 7 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 30 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 7 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2

                     วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ    " จิตอาสาตามรอยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง " วิทยากรโดย ทฤษฎี สหวงษ์ (ปอ)              ณ ห้องประชุมจันทร์จรัส ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดี


 ทฤษฎี สหวงษ์ ได้รับตำแหน่งเป็นทูตองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก
World Society for the Protection of Animals (WSPA)    cick 


หนังสั้น Through-the-eyes-of-us โดย WSPA



ภาพบรรยากาศ









การประเมินผล
  • ตนเอง   แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังขณะที่วิทยากรบรรยาย
  • เพื่อน   แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังขณะที่วิทยากรบรรยาย
  • วิทยากร  : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดคุยเป็นกันเองกับนักศึกษา ทำให้สนุกสนาน


วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 6 
บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วัน/เดือน/ปี 23 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน 101 วันอังคาร ตอนเที่ยง 
เวลาเข้าเรียน 12.20 - 15.00 น. ห้อง 234 อาคาร 2
        
         สัปดาห์นี้สอนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)
           เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด  หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดในการปรับปรุงแต่งระดับของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
1.ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง
  • เสียงบางส่วนของคำที่ขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"
  • ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" "จิน" กวาด ฟาด
  • เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
  • เสียงเพี้ยนหรือเปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"
2.ความบกพร่องของจังหวะและข้นตอนของเสียงพูด
  • พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
  • การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
  • อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
  • จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
  • เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย
3.ความบกพร่องของเสียงพูด
  • ความบกพร่องของระดับเสียง
  • เสียงดังหรือค่อยเกินไป
  • คุณภาพของเสียงไม่ดี
ความบกพร่องทางภาษา
        หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูดและไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
1.การพันาการทางภาษาช้ากว่าวัย
  • มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
  • มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
  • ไม่สามารถสร้างประโยคได้
  • มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ อารมณ์ สมองผิดปกติ
  • ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วนๆ
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
  • อ่านไม่ออก (alexia)
  • เขียนไม่ได้ (agraphia)
  • สะกดคำไม่ได้
  • ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
  • จำคำหรือประโยคไม่ได้
  • ไม่เข้าใจคำสั่ง
  • พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
Gerstmann's syndrome
ไม่รู้ชื่อนิ้ว
ไม่รู้ซ้ายขวา
คำนวณไม่ได้
เขียนไม่ได้
อ่านไม่ออก
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
  • ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆ และอ่อนแรง
  • ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
  • ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
  • หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
  • ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
  • หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
  • มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
  • ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย
5.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairment)
  • เด็กมีอวัยวะไม่สมส่วน
  • อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
  • เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
  • มีปัญหาทางระบบประสาท
  • มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
โรคลมชัก (Epilepsy)
  • เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
  • มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
  • อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10 วินาที
  • มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก
  • เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
  • เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
  • เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5นาที จากนั้นจะหายและนอนหลับไปชั่วครู่
3.อาการชักแบบ Partial Complex
  • มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที
  • เหม่อนิ่ง
  • เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้และตอบสนองต่อคำพูด
  • หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
  • เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่คัวเองไม่รู้ เช่น  ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อ แต่ไม่มีอาการชัก
5.ลมบ้าหมู
  • เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น

การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
  • จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
  • ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
  • หาหมอนหรือสิ่งนุ่ม ๆ รองศีรษะ
  • ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารอกจากปก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
  • จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
  • ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
  • ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ
ซี.พี (Cerebral Palsy)

  • เป็นการอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นแผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
  • การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
    • spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
    • spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
    • spastic paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
    • spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (athetoid , ataxia)
  • athetoid อาการขยุกขยิกช้าๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของเด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
  • ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3.กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
    
            กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
  • เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว
  • เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
  • จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
          โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด

  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ
  • กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
โปลิโอ (Poliomyelitis)


  • มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
  • ยืนไม่ได้หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคเบาหวาน
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เลือดไหลไม่หยุด

แขนขาด้สนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)



ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
  • ท่าเดินคล้ายกรรไกร
  • เดินขากะดผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
  • ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
  • มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
  • หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
  • หกล้มง่ายๆ
  • หิวและหระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ

Mind Map
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ





การประเมินผล
  • ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
  • เพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ไม่คุยกันเสียงดังขณะเรียน และแดงความคิดเห็นร่วมกัน
  • อาจารย์  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์ยกตัวอย่างประกอบ และมี VDO ตัวอย่างต่างๆให้ดู ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น